Pawoot Personal Blog & Think Tank

E-Business Man Daily Life and What I'm Thinking

คนไทยขาดดุลการค้าดิจิทัลปีละเท่าไร?

with 4 comments

คุณจ่ายเงินให้กับบริการออนไลน์ของบริษัทต่างประเทศเดือนนึงกี่บาทครับ?​ ทั้ง Apple iCloud, Google, Youtube, Netflix, Spotify และอื่นๆ อีกมาก… ยังไม่รวมเกมส์ออนไลน์ที่เด็กๆ เล่นกันเต็มไปหมด

ส่วนตัวของผมนับๆ แล้วเดือนละ 2 พันกว่าบาท หรือปีนึง 2 หมื่นกว่าบาทครับ.! นี้แค่ผมคนเดียว และถ้ามีคนไทยอย่างผมประมาณ 10 ล้านคน คนไทยจะจ่ายค่าบริการออนไลน์บริษัทต่างประเทศ ปีนึง 2 แสนกว่าล้านบาทเลยทีเดียว.!

ผมเคยพูดเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ปี 2018 (ปัจจุบัน ณ.ที่เขียนบทความนี้ปี 2022 หรือ 4 ปีก่อน) ว่าประเทศไทยควรจะดูเรื่องการขาดดุลดิจิทัล และสรรพกรควรหลักดันเรื่องกฏหมายการเก็บภาษีจากบริการต่างประเทศ (อ่านต่อ)

ล่าสุดกรมสรรพกรได้เปิดเผยตัวเลข การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการบริการอิเล็กทรอนิกส์จากแพลตฟอร์มผู้ให้บริการต่างประเทศ (VAT for Electronic Service : VES) ที่คนไทยจ่ายออกไป ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 – มกราคม 2565 (รวม 5 เดือน)

“สรุปว่าคนไทยจ่ายเงินออกให้กับผู้ให้บริการออนไลน์ต่างประเทศรวม 4 หมื่นกว่าล้านบาทภายในแค่ 5 เดือน”

สรรพกรได้ภาษี VAT 3 พันกว่าล้านจากผู้ให้บริการออนไลน์จากต่างประเทศ (แต่ส่วนใหญ่ภาษีที่จ่ายคือคนไทยจ่ายเพิ่ม เพราะเค้าชาร์จเพิ่มไปจากราคาปกติ)

ย้ำอีกที นี้ตัวเลขแค่ 5 เดือนเท่านั้น และเพิ่งเป็นการเริ่มต้นเก็บจากผู้ให้บริการต่างประเทศที่มาขึ้นทะเบียนกับกรมสรรพกร 127 รายเท่านั้น (คิดดูยังมีอีกบริการออนไลน์อีกเพียบ ที่ยังไม่ได้มาเข้าระบบตรงนี้)

เดิมสรรพกรคาดการ์ณว่าจะเก็บภาษีส่วนนี้ได้สูงถึง 3-5 พันล้านบาท แต่ผ่านไปแค่ 5 เดือน เราจัดเก็บได้ถึง 3 พันล้านบาท สรรพกรเลยคาดการ์ณตัวเลขใหม่ว่าน่าจะจัดเก็บได้สูงถึง 8พันล้าน – หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว

ผมคาดการณ์ว่าคนไทยจะจ่ายเงินให้กับผู้ให้บริการออนไลน์ต่างประเทศปีนึงสูงถึง 2 แสนล้านบาท

ถ้าเป็นไปตามนั้นจริงๆ นั้นหมายถึง “คนไทยจะจ่ายเงินให้บริการออนไลน์ของต่างประเทศปีนึงนับแสนล้านบาทเลยทีเดียว” แต่เดียวก่อน นี้แค่จาก 127 ผู้ให้บริการเท่านั้น ถ้าประเมินตัวเลขจริงๆ เรามีอีกหลายร้อยบริษัทต่างประเทศที่ไม่ได้เข้าระบบ ดังนั้นส่วนตัวผมคิดว่า ปีนึงคนไทยเราน่าจะจ่ายเงินให้บริการออนไลน์ต่างประเทศเกิน 2 แสนล้านบาทแน่นอน.!

คนไทยขาดดุลดิจิทัลมหาศาล.!

ถ้าเทียบดูแล้วปีนึงเราจ่ายเงินให้กับบริษัทบริการออนไลน์ต่างประเทศสูงถึง 2 แสนล้าน มันมากกว่ามูลค่าการนำเข้านำ้มันสำเร็จรูปปี 64 ที่มีเพียงแค่ 172,750 ล้าน หรือเทียบกับการส่งออกข้าวไทยในปี 2564 มีเพียง 107,758 ล้านบาท (ขายข้าวทั้งปี ยังไม่ได้เท่ากับคนไทยขาดดุลดิจิทัล)

ยังไม่เคยมีใครพูดถึงคำว่า “ขาดดุลดิจิทัล”​ ผมขอเป็นคนไทยคนแรกที่นิยามคำนี้ขึ้นมาละกันครับ.! อิอิ..

“สรุปง่ายๆ คนไทยต้องส่งออกข้าวเพิ่มเป็น 2 เท่าถึงจะเท่ากับการที่คนไทยเสียเงินให้กับบริการออนไลน์บริษัทต่างประเทศ”

ผมไปดูตัวเลขการนำเข้าสินค้าของไทยส่วนใหญ่ยังเป็นสินค้าที่จับต้องได้เป็นหลัก น้ำมัน เหล็ก เครื่องจักร สินค้าเกษตร แต่ไม่มีตัวเลขสินค้ดิจิทัลเลย ทั้งๆ ที่การขาดดุลสินค้าประเภทนีแทบจะสูงเป็นอันดับต้นๆ ของทุกกลุ่มประเภทสินค้า (ฝากส่งบทความนี้ให้กับหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้หน่อยนะครับ)

“รัฐควรเพิ่มการขาดดุลสินค้าดิจิทัล เข้าไปในการคำนวนเชิงเศรษกิจของประเทศ”

อ่านมาถึงตรงนี้ สิ่งที่ผมอยากจะกระตุกให้ทุกคนคิดตามผม ว่าการขาดดุลดิจิทัลของไทย มันเพิ่งเริ่มต้นได้ไม่นานครับ คิดว่าต่อๆ ไปทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นออนไลน์หมด และบริการออนไลน์จริงๆ มีของคนไทยไม่กี่รายเท่านั้น ดังนั้นต่อไปคนไทยจะจ่ายเงินออกไปยังผู้ให้บริการออนไลน์ต่างประเทศเพิ่มขึ้นๆ อีกอย่างแน่นอน ดังนั้นการขาดดุยดิจิทัลจะ เพิ่มขึ้นไปแบบกระฉูดและมหาศาลแน่ๆ ดังนั้น รัฐต้องทำอะไรซักอย่าง….

ผมมีแนวความคิดอยู่หลายอย่าง ที่จะช่วยทำให้ประเทศไทยขาดดุลดิจิทัลได้ลดลง เดียวมีเวลาอยากจะเขียนเล่าให้ฟังครับ หรือพรรคการเมืองไหนสนใจ เอาแนวคิดผมไปเป็นนโยบาย ผมยินดีสนับสนุนให้เอาไปใช้ได้เลยครับ เพราะผมเชื่อการพลักดันเรื่องนี้ ต้องใช้อำนาจรัฐมาจัดการและแก้ไขครับ (แต่อย่ามาชวนเข้าพรรคนะ ที่บ้านผมมีกฏห้ามทำงานการเมืองครับ)

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ผมลุกขึ้นมากพลักดันเรื่องการค้าดิจิทัลกับเศรษฐกิจไทย ตลอดเกือบสิบปีที่ผ่านมาได้แก่ การรุกการค้าออนไลน์ของต่างประเทศ, การเก็บภาษีดิจิทัล, รวมไปถึงการขาดดุลดิจิทัลที่ประเทศไทยกำลังจะเสียหายอย่างมาก ด้านล่างคือหัวข้อตัวอย่างการพลักดันของผมในตลอดหลายปีที่ผ่านมา ที่ตั้งใจจะช่วยประเทศไทย

ต้องขอบคุณกรมสรรพกรที่ลุกขึ้นมาจัดเก็บภาษี จากผู้ให้บริการต่างประเทศ ยังจำได้เลยเมื่อหลายปีก่อน ที่ผมได้มีโอกาสนำเรื่องนี้ไปคุยกับกรมสรรพกร เผยตัวเลขเหล่านี้ให้ทางกรมได้เห็น และสุดท้ายมันก็ออกมาเป็นกฏหมาย และตัวเลขการจัดเก็บภาษีจากผู้ให้บริการออนไลน์ต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นตัวเลขตั้งต้นให้เห็นถึงการ “ขาดดุลดิจิทัลของไทย”​และมันจะนำไปสู่การเปิดตาคนไทย และรัฐไทยให้เห็นว่า เรากำลังสูญเสียเงินมหาศาลให้กับผู้ให้บริการออนไลน์ต่างประเทศ และจะเป็นจุดที่ทำให้นักธุรกิจไทยได้คิดว่า ทำไมเราถึงปล่อยให้เงินจำนวนมหาศาลนี้ หลุดออกไปให้ต่างประเทศ? ทำไมสามารถสร้างบริการลักษณะเดียวกันได้ไหม? หรือเราควรจะทำอย่างไรต่อ?

“ตัวเลขที่กรมสรรพกรนำออกมา คือตัวโดมิโนตัวเล็กๆ ที่กำลังจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กับเศรษฐกิจของไทยและธุรกิจดิจิทัลของไทย”

ใครจะเชื่อว่าการจ่ายเงินค่าบริการทางออนไลน์ต่างๆ เดือนละไม่กี่ร้อย กี่พัน มันจะทำให้ประเทศชาติขาดดุลได้ขนาดนี้เลยเหรอ?​ คำตอบคือใช่ครับ… เราทุกคนมีส่วนร่วมกันหมดครับ.!

Written by pawoot

2022/04/02 at 9:31 PM

4 Responses

Subscribe to comments with RSS.

  1. […] “การขาดดุลการค้าดิจิทัล” บนเว็บบล็อกส่วนตัวว่า […]

    Like

  2. […] “การขาดดุลการค้าดิจิทัล” บนเว็บบล็อกส่วนตัวว่า […]

    Like

  3. […] “การขาดดุลการค้าดิจิทัล” บนเว็บบล็อกส่วนตัวว่า […]

    Like

  4. […] “การขาดดุลการค้าดิจิทัล” บนเว็บบล็อกส่วนตัวว่า […]

    Like


Leave a comment