ประเทศไทยเปลี่ยนได้ เริ่มต้นจากตัวเรา.!
ผมจัดวิทยุรายการ Econ Biz FM 96.5 อสมท. มา 5 ปีแล้วครับ (ครั้งแต่ปี 2016) รวมๆ 2 ร้อยกว่าตอนแล้ว เป็นคลื่นวิทยุด้านธุรกิจอันดับต้นๆ ของไทยเลย เก่าแก่และยาวนานมาก (หากมีโอกาสแนะนำให้ save ไว้ในวิทยุฟัง ตอนขับรถ)

เรื่องราวของการลงทุนใน Builk.com ของผม
ยินดีด้วยกับ Builk และทีมงานทุกคนที่ ระดมทุนรอบ Series B รวมไปถึงสร้างธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีกำไร.!
ต้องบอกว่า Builk เป็นบริษัทที่ผมลงทุนใช้เงินมากที่สุด ในบรรดาบริษัท Startup ที่ผมลงทุนไปทั้งหมด ถามว่าทำไมถึงลงทุน?

การลงทุนในบริษัทก็เหมือนการปลูกต้นไม้

เห็นภาพนี้ แล้วนึกถึงตัวเองที่เริ่มลงทุนในบริษัทต่างๆ เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ในหลายรูปแบบ ผมขอแบ่งกลุ่มบริษัทที่ลงทุนเป็นหลายรูปแบบได้แก่
Read the rest of this entry »เจาะเทรนด์การค้าออนไลน์ไทยปี 2564 (Thailand E-Commerce Trend 2021)
ปี 2564 จะเป็นปีที่ ออนไลน์จะมีบทบาทอย่างมาก กับเศรษฐกิจของไทย เพราะ COVID-19 ได้เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อของคนไทยทั้งประเทศไปอย่างสิ้นเชิง ปี 2564 จะเกิดพฤติกรรมการช้อปรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มาดู 10 เทรนด์ที่จะเปิดขึ้นในปีนี้กันครับ

โครงการ “เราเที่ยวดัวยกัน” กระตุ้นยอดชำระเงินการท่องเที่ยวโต +554% ผ่าน PaySolutions.asia
จากการที่ภาครัฐได้มีโครงการ กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศผ่านโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” โดยภาครัฐสนับสนุนเงิน 40% ของการเที่ยว ซึ่งทาง บริษัท PaySolutions ได้ร่วมเป็นหนึ่งในระบบชำระเงินให้กับทางโรงแรมต่างๆ ผ่านโครงการนี้ ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา เรามาดูผลของโครงการนี้ว่าเป็นยังไงบ้าง

จะสังเกตุได้ว่าในช่วงการระบาดของ COVID 19 ส่งผลกระทบกับ การท่องเที่ยวอย่างมาก เห็นได้ชัดจาก กราฟเส้นสีเหลือ คือการชำระเข้ามาของกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวแทบจะเหลือ ศูนย์ในช่วงมีนาคม ไปถึง กรกฏาคม โดยตัวเลขการชำระเงินของกลุ่มท่องเที่ยวไตรมาสที่ 2 ลดลง -83% เมื่อเที่ยบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2020 และลดลง -52% เมื่อเที่ยบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2019
Read the rest of this entry »ประชุมบริษัทที่ลงทุนไป กับการพัฒนาประเทศไทย
นัดพบกลุ่มบริษัทที่ผมลงทุน ใน Portfolio วันนี้มา 16 บริษัทจาก 29 บริษัทที่ลงทุนไป
หลายบริษัทไม่รู้จักกันเท่าไร วันนี้เลยอยากให้แต่ละบริษัทได้รู้จักกัน โดยให้แต่ทีมมาแนะนำว่า แต่ละบริษัททำอะไร ให้บริการอะไรบ้าง เพื่อสร้างความร่วมมือ และ Synergy กัน โดยที่ผมเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างกัน
วันนี้น่าจะมีความร่วมมือกันระหว่างบริษัทกันได้เยอะเลยทีเดียว

เข้าพบนายกรัฐมนตรี
พบนายกรัฐมนตรี นำเสนอแผนการใข้ E-Commerce เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ ไปข้างหน้า มีสมาคม E-Commerce, DAAT, Logistics มาร่วมกันให้ข้อเสนอ
ไม่เคยเจอนายกฯ ตัวจริง ดูแกตั้งใจมากๆ ฟังและจดที่ทุกคนพูด มากกว่าคนอื่นๆ ในห้อง ใส่ใจรายละเอียด สนใจแทบทุกคนในห้อง Eyes Contact ดีมาก
พวกเรานำเสนอไปหลายอย่าง ส่วนของผมเสนอ 3 เรื่อง ได้แก่….
- การปรับคณะกรรมการ E-Commerce แห่งชาติ ให้บูรณาการมากขึ้น นำเอกชนเข้าไปร่วมทำงานมากขึ้น
- การสร้างและสนับสนุนผู้ช่วย (Enabler) ที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ออนไลน์ และนำพาออกไปค้าขายนอกประเทศให้มากขึ้น
- นโยบายการสนับสนุนจากรัฐหลายๆ ด้าน เช่น ภาษี, ชิมช้อปใช้ ดิจิทัล, การกระตุ้นให้ใช้ E-Tax Invoice
รวมถึงเล่าปัญหาที่ผ่านมา สิบกว่าปีว่าการพลักดัน E-Commerce ของภาครัฐทำไมถึงไม่ได้ผล.!
แผนหลายอย่างที่พวกเรานำเสนอไป แกให้หลายๆ หน่วยงานนำไปพลักดันต่อ มาดูกันว่าเราจะเดินหน้าต่อยังไง.!
ผมแอบยิงคำถามแกไปตรงๆ หลายข้อ!
- เคยซื้อของผ่าน E-Commerce มั้ย?
- ถ่ายรูปกับแก ชูสามนิ้วได้มั้ย! (อันนี้ฮามาก)
คุณว่าแกตอบผมว่าอะไร.! ฮ่าๆ @ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
ดูแผนที่ผมนำเสนอได้ที่นี่ครับ
https://docs.google.com/presentation/d/1erOPxXvf8btqHAhFmq_Y9GUfsPSzbKjnYsLF7USbpUI/edit


ทางรอดของ ‘สตาร์ทอัพ’ ยุคหลังโควิด
วิกฤติโควิด-19 ซ้ำเติมกลุ่มสตาร์ทอัพไทย จากที่ต้องเผชิญความท้าทายหลายด้าน และอาจมีเพียงไม่กี่รายที่จะอยู่ในรอด วันนี้หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ยิ่งทำให้หลายรายเริ่มทยอยแลนดิ้งแล้ว เนื่องไม่มีนักลงทุน โจทย์ใหญ่คือทางรอดของสตาร์ทอัพไทยคืออะไร?
ธุรกิจในประเทศไทยในยุคโควิดต้องการประสิทธิภาพ โดยนำเอาดิจิทัลเข้ามาใช้ในธุรกิจ ผมได้พูดคุยกับน้องๆ สตาร์ทอัพในช่วงก่อนโควิดได้ทราบว่าธุรกิจสตาร์ทอัพไทยหลายรายน่าจะอยู่ได้อีกไม่นาน และสถานการณ์หลังโควิดหลายคนเริ่มทยอยแลนดิ้งแล้ว เพราะไม่มีนักลงทุน บางคนปิดกิจการ บางคนลดขนาดตัวเองลง เริ่มหาทางรอดตาย หาทางที่จะหารายได้อย่างเร็วที่สุด
ผมอยากให้คำแนะนำว่าก่อนที่จะแลนดิ้งหรือปิด ให้มองก่อนว่าตอนนี้ธุรกิจของคุณมี Asset หรือจุดเด่น เช่น มีซอฟต์แวร์ มีฐานลูกค้า มี business model อะไรอยู่บ้าง ลองหาคนหรือองค์กรที่ใหญ่กว่าไปรวมกับเขา อย่างน้อยขายไปก็ยังได้เงิน หรือยังสามารถโตได้อีก
อีกวิธีคือปรับธุรกิจ ลองปรับไปเป็นแบบอื่นที่ใกล้กันหรือสามารถต่อยอดได้ เป็นการเริ่มจากสิ่งที่มีอยู่ ปรับใแล้วนักลงทุนอาจหลับมาสนใจได้ หรือถ้าธุรกิจยังดูมีอนาคตดีลอง Lean ตัวเองลงจากเดิมหรือเป็นการจำศีล ยังไม่ปิดโดยทันที ลดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุดเพื่ออยู่ต่อได้ยาวนานมากขึ้น เมื่อจังหวะที่ตลาดกลับมาจึงเอาใส่อีกทีหนึ่ง หรืออาจปรับ business model เปลี่ยนมุมมอง บางทีเปลี่ยนที่ยืนแค่นิดเดียว แต่ช่วยได้มหาศาลก็มีตัวอย่างมาแล้ว
“ดังนั้น จึงอยากให้น้องๆ สตาร์ทอัพคุยกับคนอื่นเยอะๆ เปิดโลกให้มากกว่าที่ยืนอยู่ บางทีจะทำให้เห็นอะไรใหม่ หรือใครที่คิดว่าตัวเองจะไม่ไหวแล้ว ผมว่าตอนนี้เป็นจังหวะที่ดีถ้าคุณจะแลนดิ้ง (Landing) ได้ แต่ก็ต้องต้องมีศิลปะสักหน่อย ลองสร้างทางเลือกไว้หลายทางก่อนตัดสินใจปิด บางทีอาจเจอคนที่มีความต้องการที่พอดีกันมาร่วมงานกันก็ได้”
ตอนนี้ภาครัฐเองก็ทำหลายนโยบาย มีการตั้งกองทุนขึ้นมาซึ่งเป็นการรวมตัวของบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศไทย เช่น กลุ่ม ปตท. CP ไทยเบฟ ฯลฯ เอาเงินมาลงเป็นกองทุนหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า InnoSpace (http://www.innospacethailand.com) และเริ่มอัดเม็ดเงินเพื่อลงไปช่วยสตาร์ทอัพในประเทศไทยแล้ว เป็นทางออกสำหรับคนที่จะแลนดิ้งธุรกิจ ให้สามารถออกเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพได้หรือ Convertible Debenture ง่ายๆ คือสามารถขายหุ้นให้กับคนทั่วไปได้
ตรงนี้ทำให้สามารถขายหุ้นให้กับนักลงทุนได้ แต่จะเป็นเหมือนเงินกู้ นักลงทุนสามารถแปลงสภาพเงินกู้เป็นหุ้นได้ในอนาคต ผมมองดูแล้วว่าจะเป็นการเปิดทางให้คนทำธุรกิจที่ไม่จำเป็นแต่สตาร์ทอัพเท่านั้น สามารถมีวิธีการรูปแบบใหม่ในการระดมเงินเข้ามาในธุรกิจได้ง่ายมากขึ้น
ทั้งนี้ ข้างต้นอาจเป็นมุมของสตาร์ทอัพในการหาทางรอด แต่ในมุมของคนที่ทำธุรกิจอยู่แล้วและต้องการลงทุน ทั้งสองกลุ่มนี้เหมือนอยู่ละโลก แต่จะทำอย่างไรให้ทั้งสองโลกมาเจอกันได้
สำหรับเจ้าของธุรกิจ
“ผมว่าธุรกิจในประเทศไทยโดยเฉพาะยุคโควิดต้องการ efficiency หรือประสิทธิภาพ ต้องการเอาดิจิทัลเข้ามาใช้ในธุรกิจ แต่ไม่รู้จะหามาได้อย่างไร ทุกท่านคงอยากหาคนทำเทคโนโลยีแต่ไม่มีคนทำ โดยเฉพาะผู้ใหญ่หลายๆ คน ในขณะที่อีกโลกหนึ่งของเด็กๆ ทำได้ทุกอย่างที่ว่ามาแต่ไม่มีทุน สตาร์อัพไทยมีเทคโนโลยีดีๆ แต่ขาดคนแมทช์”
อย่างไรก็ดี ในแง่ของผู้ใหญ่ที่ทำธุรกิจอยู่อาจต้องออกแรงมากขึ้นเพื่อเข้าถึงน้องๆ อีกวงการหนึ่ง และเช่นเดียวกัน น้องๆ ในวงการสตาร์ทอัพก็ต้องพยายามกระโดดเข้ามาหาพี่ ๆ ให้มากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน เมื่อสองคนมาบรรจบเข้าด้วยกันก็จะเป็นการรวมตัวกันที่ลงตัว พี่ๆ มีเงินต้องการเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย น้องๆ เองไม่มีเงินแต่มีเทคโนโลยี นั่นคือต้องหาให้เจอ
การลงทุนในสตาร์ทอัพช่วงเริ่มต้นใหม่ใช้เงินไม่เยอะ ส่วนใหญ่จะเอาไปใช้กับการจ้างคนเป็นหลัก บางธุรกิจใช้เงินแค่หลักแสนเท่านั้น หรือ 1-2 ล้านบาทขึ้นอยู่กับธุรกิจตอนนั้นว่าเขาโตแล้วหรือยัง การลงทุนราคาถูกในตอนเริ่มต้น ข้อดีคือเราลงทุนไม่แพง แต่จุดอ่อนคือโอกาสล้มเหลวมีสูง
ฉะนั้น ถ้าหากเราสามารถเข้าไปช่วยเขาได้ในจุดที่เราเก่งมันจะกลายเป็นการร่วมงานที่ดี ทำให้ยุคหลังโควิดผมว่าจะไม่ค่อยเจอแล้วที่ต้องใช้เงินถึง 20-30 ล้านบาท แค่หลักแสนหรือล้านเดียวคุณก็สามารถหาบริษัทประเภทที่ต้องการได้แล้ว หรือถ้าเคยอยากลงทุนในสตาร์ทอัพบางตัวก่อนหน้าโควิด ผมแนะนำว่าลองโทรไปหาเค้าอีกที ตอนนี้ราคาจะลงไปอีกเยอะเลยจริงๆ การลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี เทคสตาร์ทอัพ นอกจากจะได้ช่วยเหลือน้องๆ สตาร์ทอัพไทยแล้วยังเป็นทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจอีกทางหนึ่งครับ
ธุรกิจบทเรียนแรกของลิงเป็ป.!
ธุรกิจบทเรียนแรกของลิงเป็ป.!
เป็ปเริ่มทำธุรกิจกับเพื่อนในการรับงานสร้างบ้านในเกมส์ Roblox โดยเพื่อนไปโพสต์รับงานในเว็บ Fiverr.com แล้วมาเอางานมากระจายให้เป็ปและเพื่อนๆ ทำต่อ เป็ปดีใจมาก เพราะตัวเองได้ค่าตอบแทนเป็น Robux (ค่าเงินในเกมส์) โดยที่เป็ปเค้ายังไม่ได้มองภาพรวมของ “ธุรกิจ” รับสร้างบ้านในเกมส์ว่ารายได้เข้ามา จนมาถึงเค้า เป็นยังไง
ผมก็นั่งฟังเค้าอธิบายว่าเค้าได้ เงิน Robux มายังไง แล้วก็มาเขียนสรุปให้เค้าเข้าใจว่า เค้าเป็น “คนทำงาน” และมีเพื่อนเค้าเป็น “นายหน้า” รับงานเข้ามา และ เพื่อนเค้าได้รายได้เท่าไร.! และเค้าได้รายได้เท่าไร?
เมื่อเค้าเข้าใจภาพรวมทั้งหมดแล้ว ผมก็ถามเค้าใหม่ว่า อยากเป็น “คนทำงาน” หรือเป็น “คนหางาน” คำตอบอยู่ใน Video นี้แล้ว
ถือว่าเป็น บทเรียนธุรกิจบทแรก ที่ลิงเป็ปได้เรียนรู้ ในขณะที่เค้าอายุ 11 ขวบ
ดู VDO ที่เราได้พูดคุยกันที่นี่ https://youtu.be/e4zUhGnqM3o


